Thai_flag   |   Eng_flag

 

 

 

เกี่ยวกับยาฆ่าแมลง

 

 

 
 

 

   
 

แนะนำชุดตรวจฯ"จีที"

 
 
 
 

ชุดตรวจยาฆ่าแมลง"จีที"

 
 

 

 

กลับไปยังหน้าหลัก

ผู้พัฒนาชุดตรวจฯ"จีที"

 

ข้อคิดเห็นของผู้พัฒนาต่อชุดตรวจฯ"จีที"

about_innovator

  • ข้อคิดเห็นตอนที่ 1
    หลักการของชุดตรวจฯจีที และ เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง ชุดตรวจฯจีที กับ การตรวจแบบมาตรฐาน
  • ข้อคิดเห็นตอนที่ 2
    ชุดตรวจฯจีที สามารถตรวจได้มากกว่า กลุ่มสารฟอสเฟต และ คาร์บาเมต
  • product ใหม่ของ GT "ชุดทดสอบไนเตรตในอาหาร" สนใจสอบถาม( GT-New Product "Nitrate Test Kit in Food

 

 ข้อคิดเห็น ตอนที่ 1


สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ หรือเรียกอย่างง่ายว่า ยาฆ่าแมลง จัดเป็นวัตถุมีพิษที่ให้ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูของพืชและสัตว์ที่เป็นผลิตผลทางการเกษตร ได้แก่ ผัก ผลไม้ ธัญพืช เป็นต้น แต่ปริมาณการใช้ จะต้องมีสารพิษตกค้างในอาหารเหล่านั้น อยู่ในระดับปลอดภัย ซึ่งวิธีการตรวจสอบสารพิษตกค้างในห้องปฏิบัติการมีความยุ่งยาก เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง และใช้ผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ความชำนาญสูง เวลาที่ใช้ในการตรวจก็นาน ไม่ทันต่อการเน่าเสียของผลิตผลการเกษตร และการประเมินค่าความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ต้องเทียบชนิดสารกับปริมาณที่พบกับค่ากำหนดของประเทศ หรือค่ามาตรฐานระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาในการประเมิน เนื่องจาก ชนิดสารที่พบกับชนิดอาหารหลายอย่าง ไม่มีค่ากำหนดไว้ให้ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการประเมินระดับสารพิษที่พบในอาหารนั้นว่า จะมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่

ดังนั้นการคิดค้นและพัฒนาชุดน้ำยาตรวจหายาฆ่าแมลงกึ่งมาตรฐาน จึงมีประโยชน์ในการคัดกรองตัวอย่างที่ไม่ปลอดภัย โดยเกณฑ์ปริมาณที่นำมากำหนดค่าความไม่ปลอดภัย ได้จากค่าความเป็นพิษของสารพิษเดี่ยว หรือค่าสารพิษรวม ที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสลดลงตั้งแต่ร้อยละ 50ขึ้นไปในเกณฑ์ของการวิเคราะห์สารพิษตกค้าง และนำเกณฑ์ตัดสินนี้มาศึกษาวิจัยเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ตัวอย่างจริงโดยวิธีมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้ผล
ดีไม่เกินค่าความเป็นจริง ดังนั้นการใช้ชุดตรวจฯนี้ จึงมีความเหมาะสมกับการคัดกรองความไม่ปลอดภัยของอาหาร ให้แก่ผู้บริโภคได้ทันต่อความต้องการ โดยวิธีนี้ใช้เวลาในขั้นตอนการตรวจ 60 นาที มีความถูกต้องดี และมีความผิดพลาดในการตรวจที่เกิดจากผู้ทำการตรวจน้อยมาก เหมาะสำหรับการตรวจเพื่อควบคุมคุณภาพความปลอดภัยของผักผลไม้สด ก่อนวางจำหน่าย หรือเพื่อทำงานวิจัยที่ต้องทำการวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมากในแต่ละรุ่น หรือเพื่อขยายการตรวจสอบสารพิษในดินและน้ำ สำหรับอีกด้านหนึ่งของผู้ตรวจที่ต้องการความรวดเร็วกว่านี้ เช่น ต้องการทราบผลเพื่อการแก้ไขปัญหาหรือคลี่คลายปัญหาที่เร่งด่วน จึงมีการพัฒนาการตรวจที่ใช้เวลาในขั้นตอนการตรวจที่ลดลงจาก 60 นาทีเป็น 15 นาที และ 30 นาทีตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มแนวทางการเลือกใช้งานต่อไป


อนึ่งจากความกังขาของนักวิชาการหลายๆท่านเกี่ยวกับ วิธีการตรวจหาสารพิษตกค้างในผักผลไม้ที่ใช้หลักการของโคลีนเอสเตอเรสอินฮิบิชั่นเทคนิค ซึ่งตรวจสารพิษได้เพียง 2 กลุ่มคือ กลุ่มสารประกอบฟอสเฟต และกลุ่มสารคาร์บาเมท ไม่สามารถตรวจสารพิษในกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มสารประกอบคลอรีน ไพรีทรอยด์ สารกำกัดเชื้อรา เป็นต้น ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า เมื่อตรวจสอบโดยวิธีนี้แล้วไม่พบ หมายความว่า ไม่มีสารพิษนั้น ข้าพเจ้าผู้พัฒนาชุดตรวจสอบฯนี้ ขอให้ข้อคิดว่า “ในโลกนี้ ยังไม่มีวิธีการใดเลยที่จะสามารถตรวจสารพิษในผักได้หมดทุกชนิด แม้วิธีที่ตรวจโดยวิธีทางห้องปฏิบัติการที่ใช้เครื่องมือพิเศษราคาแพงมากๆที่มีใช้ในบ้านเรา ก็กำหนดวิธีตรวจเป็นกลุ่มๆตามความสามารถของผู้ตรวจ ซึ่งยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละหน่วยงาน ทำให้ผลจากการตรวจไม่พบโดยวิธีมาตรฐาน จะหมายความว่าไม่มีสารพิษไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารพิษที่ตรวจได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ตรวจ กับสารมาตรฐานที่มีอยู่เป็นตัวเทียบชนิดเท่านั้น และกรณีสารพิษที่ใช้ในผลิตผล มีการเปลี่ยนรูปหลังการใช้/สลายตัว หรือทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของพืชแล้ว เกิดเป็นสารพิษใหม่ที่มีความเป็นพิษสูงชึ้น ก็ไม่สามารถตรวจได้ด้วยวิธีมาตรฐาน แต่วิธีการตรวจที่ใช้หลักการของโคลีนเอสเตอเรสอินฮิบิชั่นเทคนิค ตัวเอ็นไซม์เป็นตัวบ่งชี้สารพิษ ยิ่งในผักมีสารพิษหลายชนิดในผักตัวอย่างเดียวกันหรือกรณีที่เกิดสารพิษใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนรูป/สลายตัว/ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของพืชดังที่กล่าวแล้ว เอ็นไซม์จะแสดงความเป็นพิษให้เห็นชัดเจน หรืออีกกรณีหนึ่งที่มีการใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงมาใช้กับผลิตผลที่เป็นเกษตรอินทรีย์ หากมีการโหมฉีดซ้ำๆบ่อยๆครั้งจนเกินความจำเป็น ด้วยคิดว่าเป็นสารจากธรรมชาติ ผลิตผลนั้นก็อาจแสดงอาการเป็นพิษได้ ดังนั้นการคัดกรองตัวอย่างที่พบว่า อาจไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในเบื้องต้น และในราคาถูกใช้เวลาอันรวดเร็ว ทันต่อการจำหน่าย ทันต่อการเน่าเสีย จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างยิ่ง ในขณะที่ยังไม่มีวิธีการใดๆที่ดีกว่านี้”

คุณสมบัติ

การตรวจมาตรฐาน

การตรวจด้วยชุดตรวจฯ "จีที"

เงินทุน

สูง

ต่ำ

เวลา

ส่งตรวจ(30 วัน)

ขึ้นอยู่กับ"จีที1"(30,60 นาที)

การใช้น้ำยาเคมี

ปริมาณมาก

ปริมาณน้อย

ความชำนาญของผู้ตรวจ

มีประสบการณ์

ไม่จำเป็นตัองมีประสบการณ์

ขยะของเสีย

มีจำนวนมาก และ ต้องดำเนินการกำจัดด้วยผู้เชี่ยวชาญ

มีปริมาณน้อย และ สามารถดำเนินการกำจัดได้โดยผู้ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ

การอ่านผล

1. ยากต่อการอ่านผล เพราะสารพิษที่ตรวจได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ตรวจ กับสารมาตรฐานที่มีอยู่เป็นตัวเทียบชนิดเท่านั้น ในกรณีที่ผู้ตรวจไม่มีประสบการณ์ หรือไม่มีตัวเทียบสาร การอ่านผลอาจไม่สามารถจำแนกชนิดของสารพิษได้

1. ง่ายต่อการอ่านผล โดยการเทียบสีของหลอดตัวอย่างกับหลอดควบคุมและตัดสิน(รายละเอียดอยู่ใน "วิธีการตรวจเบื้องต้น")ซึ่งผู้ตรวจสามารถเปรียบเทียบได้ด้วยตาเปล่า

2. กรณีสารพิษที่ใช้ในผลิตผล มีการเปลี่ยนรูป หลังการใช้/สลายตัว หรือทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของพืชแล้ว เกิดเป็นสารพิษใหม่ที่มีความเป็นพิษสูงชึ้นไม่สามารถตรวจได้

2. ไม่สามารถจำแนกและเจาะจงลงไปว่าเป็นสารประเภทใด ชนิดใด แต่บอกได้ว่า สารพิษที่พบอยู่ในระดับปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่

3. เมื่อทราบว่าสารพิษที่พบคื่อชนิดใด หากไม่มีค่ากำหนดภายในและต่างประเทศ(MRL) ผู้ตรวจจะไม่ทราบว่าสารพิษที่พบนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยหรือไม่

 

3. กรณีที่เกิดสารพิษใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนรูป/สลายตัว/ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของพืช เอ็นไซม์จะแสดงความเป็นพิษให้เห็นชัดเจน

Top


ด้านล่างคื่อ Link ซึ่งไปยังหน้าที่เกี่ยวข้องภายใต้หัวข้อ
" ผู้พัฒนาชุดตรวจฯ"จีที""
1 | 2 | 3

ผู้พัฒนาชุดตรวจฯ"จีที"

 
 
 
  • ข้อคิดของผู้พัฒนาต่อชุดตรวจฯ"จีที"
 

 

การติดต่อสอบถาม

 
 
 
 

คำถาม & คำตอบ

 
 
 

 

 

 

 

 

 

bottomline
 

ผู้ดูแลเว็บ | เว็บเกี่ยวข้อง
© 2004 GT trading