Thai_flag   |   Eng_flag

 

 

 

เกี่ยวกับยาฆ่าแมลง

 

 

 
 

 

   
 

แนะนำชุดตรวจฯ"จีที"

 
 
 
 

ชุดตรวจยาฆ่าแมลง"จีที"

 
 

 

 

กลับไปยังหน้าหลัก

ผู้พัฒนาชุดตรวจฯ"จีที"

 

ข้อคิดเห็นของผู้พัฒนาต่อชุดตรวจฯ"จีที"

about_innovator

 

ข้อคิดเห็น ตอนที่ 2

 


ชุดตรวจหายาฆ่าแมลง “GT” ในความตั้งใจเดิมของข้าพเจ้าผู้พัฒนา มีความต้องการตรวจหาความเป็นพิษของอาหาร ทั้งในรูปของวัตถุดิบเช่น ผักผลไม้ จนถึง อาหารพร้อมบริโภค โดยการตรวจเพื่อคัดกรองให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากสารพิษที่ปนเปื้อนหรือตกค้างในอาหารเท่านั้น แต่ที่ใช้คำว่า “ชุดตรวจหายาฆ่าแมลง” ก็เนื่องจาก หลักการตรวจนี้ จำลองโดยใช้เอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาท มาเป็นเครื่องมือแทนร่างกายของมนุษย์ในการบ่งบอกผลว่า อาหารที่จะบริโภคนั้นมีสารพิษอยู่หรือไม่ และถ้ามี สารพิษนั้นจะอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้บริโภคสมควรจะรับประทานเข้าไปได้หรือไม่ แต่จากความรู้ที่ผู้คนส่วนใหญ่ทราบกันว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มสารประกอบฟอสเฟต และคาร์บาเมท มีคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวที่เป็นสารยับยั้ง/ขัดขวางการทำงานของเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (cholinesterase inhibitor) จึงใช้ชื่อว่าชุดตรวจหายาฆ่าแมลงเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น

แต่ก็มีนักวิชาการหลายท่านที่มีความเห็นว่า ชุด”GT” ตรวจยาฆ่าแมลงได้เพียง 2 กลุ่มสาร โดยไม่สามารถบอกได้ถึงชนิดสาร และปริมาณ เพื่อเทียบกับค่ามาตรฐานสารพิษตกค้างของประเทศ(Natioal MRLs) หรือระหว่างประเทศ ( Codex MRLs) ที่ใช้วิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการเป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนาซึ่งไม่มีความพร้อมทั้งด้านเงินทุนที่สูงมากในการตั้งห้องปฏิบัติการ ทั้งขาดผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังเป็นประเทศเกษตรกรรมด้วย

ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว “ชุดตรวจหรือ test kit เป็นวิธีการอย่างง่ายที่บริการให้แก่ผู้ตรวจทั่วไปที่ไม่มีทุนทรัพย์ในการลงทุน โดยไม่ต้องคอยผลจากห้องปฏิบัติการของภาครัฐและเอกชนใหญ่ๆที่มีบริการรับตรวจเพียงไม่กี่แห่ง พร้อมทั้งผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจชนิดสารพิษได้อย่างถูกต้องก็มีไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการตรวจหาสารเป็นพิษ มีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศ ถ้ากล่าวถึงในด้านการตรวจหาชนิดสาร มีความจำเป็นหรือที่ผู้ตรวจทั่วไปต้องทราบว่ามีสารพิษชื่ออะไร ทั้งที่เมื่อบอกชื่อสารแล้วก็คงจะไม่รู้จัก หรือรู้จักก็ต้องถามต่อว่า แล้วปริมาณสารที่พบนี้เป็นอย่างไร บริโภคได้ไม่เกินเท่าใดถึงจะปลอดภัย ถ้าชนิดสารที่พบนั้นไม่มีค่ากำหนดเอาไว้ ก็ไม่สามารถที่จะประเมินผลได้ แต่ผลการตรวจด้วยชุด”GT” จะสามารถบอกว่า โดยรวมแล้วอาหารนั้นมีสารพิษตกค้างอยู่หรือไม่ และปริมาณความเป็นพิษโดยรวมที่พบอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย(ที่ผู้บริโภคสามารถจะล้าง-กำจัดสารพิษเหล่านั้นได้หมดไป) หรือปริมาณความเป็นพิษโดยรวมอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัย(ระดับที่ไม่ปลอดภัยนี้ ถึงแม้ผู้บริโภคนำไปล้างทำความสะอาด สารพิษก็ยังไม่หมดไป) และเมื่อเทียบด้านราคาของการตรวจแล้ว พบว่าการตรวจโดยวิธีมาตรฐานราคาต่อตัวอย่าง ตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท ขณะที่ชุดตรวจ”GT” ราคาต่อตัวอย่างแพงสุดก็เพียง 30 บาท

ในฐานะที่ข้าพเจ้าเคยเป็นผู้เชี่ยวชาญในวงการตรวจหาสารพิษตกค้างทางห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มากว่า 30 ปี และยังคลุกคลีกับชุด”GT” ถึงแม้ว่าจะเป็นในระยะเวลาที่สั้นกว่ามาก แต่ข้าพเจ้าสามารถจะบอกได้โดยไม่ลังเลใจเลยว่า ข้าพเจ้าเลือกที่จะบริโภคผักหรือผลไม้ที่มีผลการตรวจว่าไม่พบหรือพบปลอดภัยจากการตรวจของชุด”GT” มากกว่าผลจากการตรวจด้วยวิธีมาตรฐานที่ใช้เครื่องมือราคาแพง ทั้งที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ตรวจเองทั้ง 2 วิธี เพราะจากการคลุกคลีกับชุด”GT” ทั้งตอบคำถาม ให้คำปรึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ตรวจหลายท่านมาโดยตลอด พบว่า ชุด”GT” มิได้ตรวจได้เฉพาะกลุ่มฟอสเฟตและคาร์บาเมทเท่านั้น การใช้สารพิษอื่นๆที่ไม่ใช่สารใน 2 กลุ่มนี้ ก็ยังมีอีกมากมายหลายชนิดที่ชุด”GT”สามารถครอบคลุมการตรวจได้ เช่น สารคลอโรทาโลนิล(Chlorothalonil) ซึ่งเป็นสารกำจัดเชื้อรา (fungicide) ในสภาพสารตั้งต้นตรวจด้วยชุด”GT” ไม่ได้ แต่เมื่อนำไปใช้กับการปลูกสตรอเบอรี่ พบว่า มีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อของพืชกับสารนี้ แล้วมีความเป็นพิษเกิดขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาของการเกิดความเป็นพิษนี้กับสตรอเบอรี่ พบว่ากินเวลานานเมื่อเทียบกับการใช้สารนี้กับพืชชนิดอื่น ซึ่งชุด”GT”จะบอกผู้บริโภคได้ว่า ควรกินหรือไม่ ขณะที่วิธีมาตรฐานบอกไม่ได้

นอกจากนี้การไม่ระวังในการใช้ ไม่มีความรู้หรือไม่มีข้อมูลของ residue trialหรือความไม่มีแบบแผนของการใช้สารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด ที่นำมาใช้เป็นสารฆ่าแมลงทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการทำเกษตรอินทรีย์ ย่อมอาจจะเกิดการเสริมฤทธิ์หรือลดความเป็นพิษลงจากปฏิกิริยาของสมุนไพรกับเนื้อเยื่อพืชได้ ซึ่งถ้าเกิดสภาวะเช่นนี้หรือมีการใช้สารสกัดจากธรรมชาติแบบนี้แล้ว การตรวจสอบโดยวิธีมาตรฐานจะไม่สามารถตรวจสอบถึงสารพิษตกค้างเหล่านั้นได้เลย ขณะที่ชุด”GT”ก็ยังสามารถบ่งบอกถึงความเป็นพิษเหล่านั้นได้ ดังนั้นชุดนี้ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตรวจเพื่อคัดกรองความเป็นพิษให้แก่ผู้บริโภค กรณีเช่นนี้นักวิชาการหลายท่านจะบอกว่า ผลของชุด”GT” เป็นผลบวกปลอม (false positive) แต่ในที่นี้ผลบวกปลอมท่านยอมรับหรือไม่ว่า มีสารเป็นพิษเกิดขึ้น และถ้าผลจากชุดตรวจ บอกว่า ผักนี้มีสารพิษโดยรวมในปริมาณที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ขณะที่การตรวจด้วยวิธีมาตรฐานบอกว่า ไม่พบอะไรเลยอย่างนี้ ท่านจะบริโภคผักนี้หรือไม่ กรุณาพิจารณาเอาเอง

ส่วนในความคิดเห็นของนักวิชาการบางกลุ่ม บอกว่าชุด ”GT”ตรวจได้ 2กลุ่มสารที่เกษตรกรไทยใช้เป็นประจำ แต่ไม่เหมาะกับตัวอย่างผักผลไม้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ เพราะเขาไม่ได้ใช้สารแบบเดียวกันกับในประเทศ ทำให้ตรวจไม่ได้ ความจริงแล้ว เกษตรกรบ้านเมืองไหนก็ใช้สารเคมีคล้ายๆกัน ซึ่งมีทั้งกลุ่มฟอสเฟตและคาร์บาเมท เพียงแต่อาจเป็นฟอสเฟตหรือคาร์บาเมทคนละชนิด และถ้าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็จะมีการใช้ตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดไม่เหมือนเกษตรกรบางรายในบ้านเราที่ใช้ผิดชนิดกับพืชผิดประเภท เช่น สารกำจัดเพลี้ยกระโดดในนาข้าว ไปพบว่าตกค้างในผัก เป็นต้น และที่บอกว่า เขาใช้ยาไม่เหมือนในบ้านเรา ก็เท่ากับบ่งบอกว่า การตรวจโดยวิธีมาตรฐานของบ้านเราก็ตรวจไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่า จะเอาสารมาตรฐานตัวไหนมาเปรียบเทียบชนิดหรือปริมาณ ถ้าไม่ตรงกับสารมาตรฐานที่เรามีอยู่ก็ตรวจไม่ได้เหมือนกัน แต่ชุด”GT” ใช้สำหรับคัดกรองเบื้องต้นเพื่อหาสิ่งเป็นพิษในอาหารนำเข้า ซึ่งผลอาจมาจากปฏิกิริยาเสริมฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงของเขา กับเนื้อเยื่อพืช ซึ่งวิธีการตรวจที่รวดเร็วนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งที่สามารถสุ่มตรวจตัวอย่างได้ครอบคลุมทุกรุ่นของอาหารนำเข้า แต่หากไม่มีการตรวจอาหารนำเข้า หรือสุ่มตรวจเฉพาะบางรุ่นโดยวิธีมาตรฐาน ซึ่งมีข้อจำกัดด้วยเรื่องของเวลา ทำให้อาหารนำเข้าบางรุ่นไม่ได้รับการตรวจ ยิ่งจะไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค


เรื่องสุดท้ายที่ทุกท่านจะต้องตระหนักอย่างยิ่ง คือ ของเสียจากการตรวจโดยวิธีมาตรฐานทางห้อง
ปฏิบัติการ มีทั้งชนิดและปริมาณสารเคมีและน้ำยาเคมีจำนวนมากในการตรวจแต่ละวัน ซึ่งวิธีการกำจัดค่อนข้างยากและ เสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และยังหาผู้ที่จะรับไปกำจัดยาก เพราะไม่คุ้มกับการลงทุน ยิ่งน้ำยาเคมีที่ใช้สกัดสารพิษได้ดีที่สุดคือ อะซีโตไนไตร์(acetonitrile) หรือ เม็ทธิลไซยาไนด์(methyl cyanide)นอกจากจะมีความเป็นพิษต่อสุขภาพของผู้ตรวจ โดยปริมาณที่ทำให้เกิดพิษเมื่อมีในบรรยากาศ 40 ส่วนในล้านส่วน (threshold limit ในอากาศ 40 พีพีเอ็ม) แล้ว เมื่อทิ้งออกสู่ภายนอกยังเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 


ด้านล่างคื่อ Link ซึ่งไปยังหน้าที่เกี่ยวข้องภายใต้หัวข้อ
" ผู้พัฒนาชุดตรวจฯ"จีที""
1 | 2 | 3

ผู้พัฒนาชุดตรวจฯ"จีที"

 
 
 
  • ข้อคิดของผู้พัฒนาต่อชุดตรวจฯ"จีที"
 

 

การติดต่อสอบถาม

 
 
 
 

คำถาม & คำตอบ

 
 
 

 

 

 

 

 

 

bottomline
 

ผู้ดูแลเว็บ | เว็บเกี่ยวข้อง
© 2004 GT trading